ประวัติวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร เริ่มดำริจัดตั้ง โดยภาคประชาชน มีนายบุญล้อม สำราญ นายโกศล หนูสมแก้ว นายวีระ กังรวมบุตร ดร.วิมลชาญชนบท นายสมิง จริงจิตร ซึ่งได้รับการสนับสนุนและความอนุเคราะห์จากท่านพระครูพิพัฒน์ประชากิจ(ทองย้อย ถิรธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดกระซ้าขาว ด้วยมีความเห็นร่วมกันว่าจังหวัดสมุทรสาคร ควรจะมีสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

ได้รับความกรุณาจาก ฯพณฯ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย และนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ (อดีตวุฒิสมาชิก) ประสานงานกับสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน(ปัจจุบันคือสถาบันวิทยาลัยชุมชน) เพื่อการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2546 ทำหน้าที่บริหารงานตามนโยบายของสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร มีคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนชุดแรก เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2548 โดยมีนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ เป็นประธานกรรมการสภาวิทยาลัยมีนายเอก แก้วชูเสน รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสมุทรสาคร ทำหน้าที่ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร ได้บริหารงานตามโนบายของสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชน เริ่มจัดการเรียนการสอน ในปีพ.ศ.2549 โดยใช้ศาลาการเปรียญของวัดกระซ้าขาว เป็นสำนักงานชั่วคราว ในปัจจุบันมีนายวรวุฒิ บุญเพ็ญ กรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาครนายโกศล หนูสมแก้ว ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาค

ในปี พ.ศ. 2554 คุณแม่เง็กเน้ย ศิริชัยเอกวัฒน์ พร้อมด้วยบุตร ธิดา ได้บริจาคที่ดินบริเวณ ถนนเอกชัย ตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน2 ไร่ มูลค่า 3,200,000 บาท เพื่อให้เป็นสมบัติของทางราชการในการก่อสร้างอาคารเรียนวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
ในปี พ.ศ. 2554 คุณแม่เง็กเน้ย ศิริชัยเอกวัฒน์ พร้อมด้วยบุตร ธิดา ได้บริจาคที่ดินบริเวณ ถนนเอกชัย ตำบลท่าจีน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน2 ไร่ มูลค่า 3,200,000 บาท เพื่อให้เป็นสมบัติของทางราชการในการก่อสร้างอาคารเรียนวิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร
ในปี พ.ศ. 2555 สำนักบริหารวิทยาลัยชุมชน ได้เสนอขอจัดตั้งงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียน คสล. จำนวน5 ชั้นจำนวน 82 ล้านบาทและได้รับอนุมัติงบประมาณก่อสร้าง ในปี พ.ศ. 2556 จำนวน 81,850,000 บาทออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน ตามแนวคิดของ ศ.ดร.สุนทร บุญญาธิการโดยมีทีมวิศวกรของกองออกแบบก่อสร้างพลับพลาพิธีและโครงการพิเศษ กรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นผู้เขียนแบบอาคาร